ความเป็นมา
- Admin
- 23 พ.ค. 2562
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 27 พ.ค. 2562
ผ้าเกาะยอเป็นผ้าทอพื้นเมืองของชาวบ้านในตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา ที่มีความประณีตและสีสันที่สวยงามโดยมีการทอยกดอกที่มีลวดลายอ่อนนุ่ม ถือเป็นสัญลักษณ์หัตถกรรมพื้นบ้านของภาคใต้และยังเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ปี พ.ศ. ๒๕๔๙

แหล่งกำเนิด
ผ้าทอเกาะยอทอมาจากเส้นใยฝ้ายที่มีเนื้อแน่น ลวดลายไม่ซับซ้อน เป็นลวดลายที่เกิดจากการขิด (ขิดเป็นภาษาพื้นบ้านของภาคอีสานมาจากคำว่าสะกิด หมายถึงการงัดช้อนขึ้น การสะกิดขึ้น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่คนไทยได้สืบทอดกันมานาน) โดยการทอด้วยมือและแบบเหยียบตะกอแยกเส้นยืนขึ้น-ลง ทำให้เกิดลายตารางคล้ายกับผ้าขาวม้า นิยมใช้ทำผ้าโสร่งและผ้านุ่ง โดยมีจุดเด่นของผ้าทอเกาะยอ จึงอยู่ที่มีลายในเนื้อผ้าที่นูนขึ้นมามีลายเส้นละเอียดสวยงามและมีความคงทน เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย ลายตารางที่มีขนาดเล็กซ้อน ๆ กัน ทอด้วยด้ายสองสี เช่น สีขาว-แดง สีขาว-แดงแซมดำ สีขาว-แดงแซมเหลือง การทอผ้าของชาวเกาะยอนั้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยคนไทยเชื้อสายจีนที่อพยพเข้ามาเป็นผู้สอนการทอให้กับชาวบ้านในบริเวณนั้น ในระยะแรกของการทอนั้นจะทอเพื่อใช้กันในครัวเรือน และแจกจ่ายญาติมิตร ใช้กี่มือที่มีโครงการเป็นไม้ไผ่และใช้ตรนแทนลูกกระสวยในการทอ ผ้าที่ทอจะเป็นพื้นเรียบ ๆ ไม่มีลวดลาย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเมื่อมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ วัฒนธรรมการทอผ้าถูกถ่ายทอดเข้ามาทำให้รูปแบบการทอผ้าเปลี่ยนไปเป็นแบบยกดอกชนิดต่าง ๆ โดยหมู่บ้านเกาะยอนั้นเป็นเกาะที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะทั้งโดยทางบนบกและทางน้ำ คนที่อพยพมาในช่วงแรกนั้นซึ่งเป็นคนเชื้อสายจีน ได้นำอาชีพการทอผ้ามาสอนชาวบ้านในบริเวณนั้น การทอผ้าจะทอด้วย “กี่มือ” ที่โครงสร้างเป็นไม้ไผ่ และใช้“ตรน” แทนลูกกระสวย

Tip:
ผ้าที่ทอในระยะแรกนั้นจะเป็นแบบเรียบ ๆ ไม่มีลวดลาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการปลูกฝ้ายเอง ต่อมาระยะหลังเกิดความยุ่งยากและเสียเวลาจึงได้จัดซื้อด้ายจากกรุงเทพฯ หรือที่อื่น ๆ ปัจจุบันสั่งซื้อใยสังเคราะห์จากต่างประเทศ เพื่อนำมาทอผ้าและย้อมด้วยสีธรรมชาติ ผ้าทอเกาะยอมีการทอเป็นลายดอกชนิดต่าง ๆ เช่น ลายก้านแย่ง
” ชื่อเดิมคือลายคอนกเขา ซึ่งเป็นลายที่สวยที่สุด ซึ่งต่อในปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ชาวบ้านเกาะยอได้นำผ้าเกาะยอขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) จึงได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า “ลายราชวัตร” แปลว่า “กิจวัตรหรือการกระทำ” ผ้าทอเกาะยอ มีการสั่งสอน สืบทอดต่อกันภายในครัวเรือนเรื่อยมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนปรากฏว่ามีเพลงกล่อมเด็กเก่าแก่หลายบท ที่แสดงให้เห็นถึงค่านิยมและวัฒนธรรมการทอผ้าของชาวเกาะยอ
Comments